บริษัท อาร์ วี เอส อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด มีความเชี่ยวชาญครบวงจรด้านระบบแอร์อาคารขนาดใหญ่ อาทิเช่น แอร์ห้องประชุม แอร์หอประชุม แอร์ฮอลล์จัดเลี้ยง แอร์โรงงาน ฯลฯ จากประสบการณ์กว่า 20 ปี ทีมวิศวกรวิชาชะและทีมช่างชำนาญงานของเราพร้อมดูแลให้บริการลูกค้าทั่วไทย ด้วยคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล
สำหรับการออกแบบระบบปรับอากาศขนาดใหญ่นั้น การเลือกใช้ค่าสภาวะอากาศในการคำนวณภาระการทำความเย็น ต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้งานและร้อยละของเวลาที่ยอมให้สูงกว่าสภาวะอากาศภายนอกสำหรับการออกแบบได้ เพื่อให้การทำงานของระบบแอร์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ได้ความเย็นตามระดับที่เหมาะสม รวมถึงการประหยัดพลังงานและค่าไฟฟ้าด้วย
ในตารางที่ 1 จะแสดงข้อมูลสภาวะอากาศภายนอกสำหรับการออกแบบแอร์ขนาดใหญ่ อย่างแอร์โรงงานอุตสาหกรรม หรือแอร์ห้องประชุม ตามพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย
สถานที่ | ละติจูด | ลองติจูด | ความสูงจากระดับ น้ำทะเล (เมตร) | อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) | |||||
0.4% | 1% | 2% | |||||||
DB | MCWB | DB | MCWB | DB | MCWB | ||||
กรุงเทพฯ | 13.73N | 100.57E | 20 | 35.7 | 26.4 | 35 | 26.4 | 34.4 | 26.2 |
กาญจนบุรี | 14.02N | 99.53E | 29 | 38.8 | 24.5 | 37.8 | 24.6 | 36.8 | 24.6 |
เกาะสมุย | 9.47N | 100.05E | 7 | 33.3 | 26.3 | 32.7 | 26.3 | 32.2 | 26.3 |
เกาะสีชัง | 13.17N | 100.80E | 26 | 33.4 | 27 | 22.9 | 26.7 | 32.4 | 26.4 |
ขอนแก่น | 16.43N | 102.83E | 166 | 38.6 | 24.4 | 37.4 | 24.6 | 36.1 | 24.7 |
เขื่อนภูมิพล | 17.25N | 99.02E | 144 | 39 | 24.3 | 37.9 | 24.2 | 36.8 | 24.3 |
โคราช | 14.97N | 102.08E | 188 | 38.1 | 24.3 | 37 | 24.4 | 35.9 | 24.4 |
จันทบุรี | 12.60N | 102.12E | 4 | 34.2 | 26 | 37.7 | 25.9 | 33.2 | 25.8 |
ชลบุรี | 13.37N | 100.98E | 2 | 35.7 | 26.3 | 35 | 26 | 34.4 | 25.9 |
ชัยภูมิ | 15.80N | 102.03E | 183 | 38 | 24.4 | 36.9 | 24.4 | 35.8 | 24.3 |
ชุมพร | 10.48N | 99.18E | 5 | 35.1 | 26.4 | 34.3 | 26.4 | 33.6 | 26.3 |
เชียงราย | 19.92N | 99.83E | 395 | 36.5 | 22.1 | 35.3 | 22.4 | 34.1 | 22.8 |
เชียงใหม่ | 18.78N | 98.98E | 314 | 37.7 | 22.4 | 36.5 | 22.4 | 35.2 | 22.4 |
ดอนเมือง | 13.92N | 100.60E | 12 | 37.2 | 26.5 | 36.6 | 26.4 | 35.8 | 26.3 |
ตรัง | 7.52N | 99.62E | 16 | 35.5 | 25.3 | 34.7 | 25.3 | 33.9 | 25.4 |
ตาก | 16.88N | 99.15E | 124 | 39.5 | 23.5 | 38.2 | 23.5 | 37.2 | 23.3 |
ทองผาภูมิ | 14.75N | 98.63E | 99 | 38.1 | 25.9 | 37.1 | 25.2 | 36 | 24.9 |
ท่าตูม | 15.32N | 103.68E | 129 | 38.4 | 25.7 | 37.1 | 25.5 | 36 | 25.5 |
นครพนม | 17.42N | 104.78E | 148 | 37.2 | 25.5 | 35.8 | 25.4 | 34.6 | 25.4 |
นครศรีธรรมราช | 8.47N | 99.97E | 9 | 34.9 | 26.3 | 34.2 | 26.2 | 37.7 | 26.1 |
นครสวรรค์ | 15.80N | 100.17E | 35 | 38.8 | 25.2 | 37.8 | 25.1 | 36.8 | 25 |
นราธิวาส | 6.42N | 101.82E | 5 | 33.8 | 26.4 | 33.1 | 26.5 | 32.6 | 26.4 |
น่าน | 18.77N | 100.77E | 201 | 38.2 | 24.7 | 37 | 24.8 | 35.7 | 24.8 |
บัวชุม | 15.27N | 101.18E | 50 | 38.8 | 25.8 | 37.7 | 25.6 | 36.5 | 25.5 |
ประจวบคีรีขันธ์ | 11.83N | 98.83E | 5 | 34.7 | 26.8 | 33.9 | 26.6 | 33.2 | 26.5 |
ปราจีนบุรี | 14.05N | 101.37E | 6 | 37.2 | 26.6 | 36.4 | 26.4 | 35.5 | 26.3 |
ปัตตานี | 6.78N | 101.15E | 9 | 34.5 | 25.7 | 33.8 | 25.7 | 33.2 | 25.7 |
พะเยา | 19.13N | 99.90E | 399 | 37.2 | 22.4 | 36 | 22.6 | 34.8 | 22.9 |
พิษณุโลก | 16.78N | 100.27E | 45 | 38.1 | 25.4 | 37.2 | 25.3 | 36.1 | 25.2 |
เพชรบุรี ท่ายาง | 13.15N | 100.07E | 4 | 34 | 27 | 33.4 | 26.9 | 33 | 26.8 |
เพชรบูรณ์ | 16.43N | 101.15E | 116 | 38.2 | 25.5 | 37.1 | 25.4 | 36 | 25.2 |
แพร่ | 18.17N | 100.17E | 162 | 38.3 | 25.1 | 37.2 | 25 | 36.1 | 25.1 |
ภูเก็ต | 7.88N | 98.40E | 3 | 34.2 | 25.6 | 33.5 | 25.5 | 33 | 25.5 |
มุกดาหาร | 16.53N | 104.72E | 139 | 37.9 | 24.8 | 36.7 | 24.8 | 35.4 | 24.8 |
แม่สอด ตาก | 16.67N | 98.55E | 197 | 36.8 | 24.2 | 35.7 | 24 | 34.7 | 23.8 |
แม่สะเรียง | 18.17N | 97.93E | 213 | 37 | 23.9 | 36.9 | 23.6 | 35.7 | 23.5 |
แม่ฮ่องสอน | 19.30N | 97.83E | 269 | 39 | 23.3 | 37.7 | 23.2 | 36.4 | 23.1 |
ร้อยเอ็ด | 16.05N | 103.68E | 142 | 37.5 | 24.3 | 36.4 | 24.4 | 35.3 | 24.5 |
ระนอง | 9.98N | 98.62E | 8 | 35.4 | 25.4 | 34.5 | 25.4 | 33.8 | 25.4 |
ระยอง อู่ตะเภา | 12.63N | 101.35E | 5 | 35.5 | 28 | 34.7 | 27.6 | 34 | 27.2 |
ลพบุรี | 14.80N | 100.62E | 11 | 37.5 | 25.5 | 36.7 | 25.6 | 35.9 | 25.5 |
ลำปาง | 18.28N | 99.52E | 242 | 38.9 | 23.6 | 37.7 | 23.4 | 36.4 | 23.5 |
ลำพูน | 18.57N | 99.03E | 298 | 38.8 | 23 | 37.6 | 22.9 | 36.3 | 22.9 |
เลย | 17.45N | 101.73E | 254 | 38 | 22.6 | 36.6 | 22.9 | 35.2 | 23.3 |
สกลนคร | 17.15N | 104.13E | 172 | 37.9 | 24.4 | 36.4 | 24.7 | 35 | 24.9 |
สงขลา | 7.20N | 100.60E | 5 | 34 | 25.5 | 33.3 | 25.7 | 32.7 | 25.9 |
สนามบินภูเก็ต | 8.12N | 98.32E | 10 | 35.9 | 26.3 | 34.8 | 26.2 | 33.9 | 26.2 |
สัตหีบ | 12.68N | 100.98E | 18 | 34 | 26.5 | 33.5 | 26.4 | 33 | 26.3 |
สุพรรณบุรี | 14.47N | 100.13E | 8 | 37.6 | 25.8 | 36.6 | 25.9 | 35.7 | 25.9 |
สุราษฎร์ธานี | 9.12N | 99.35E | 11 | 35 | 25.5 | 34.2 | 25.5 | 33.5 | 25.5 |
สุรินทร์ | 14.88N | 103.50E | 147 | 37.4 | 24.6 | 36.4 | 24.7 | 35.4 | 24.8 |
หนองคาย | 17.87N | 102.72E | 175 | 38 | 25.4 | 36.7 | 25.3 | 35.4 | 25.4 |
หัวหิน | 12.58N | 99.95E | 6 | 34.8 | 26.5 | 34.2 | 26.5 | 33.6 | 26.4 |
หาดใหญ่ | 6.92N | 100.43E | 35 | 35.1 | 25.3 | 34.2 | 25.3 | 33.8 | 25.3 |
อรัญประเทศ | 13.70N | 102.58E | 49 | 37.6 | 25.8 | 36.6 | 25.7 | 35.7 | 25.6 |
อุดรธานี | 17.38N | 102.80E | 182 | 38.3 | 24.2 | 37.1 | 24.2 | 35.8 | 24.4 |
อุตรดิตถ์ | 17.62N | 100.10E | 64 | 38.9 | 26 | 37.8 | 25.9 | 36.6 | 25.8 |
อุบลราชธานี | 15.25N | 104.87E | 127 | 37.7 | 25.5 | 36.6 | 25.4 | 35.6 | 25.3 |
หมายเหตุ:
ค่า 0.4% 1% และ 2% หมายถึง ร้อยละของจำนวนชั่วโมงตลอดทั้งปีที่ยอมให้สภาวะอากาศภายนอกจึงสูงกว่าสภาวะอากาศภายนอกสำหรับการออกแบบได้
DB หมายถึง อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry-Bulb)
MDWB หมายถึง อุณหภูมิกระเปาะเปียกเฉลี่ยที่เวลาเดียวกับค่าอุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Mean Coincident Wet-Bulb) ซึ่งไม่ใช่ค่าสูงสุด เหมาะสำหรับการใช้คำนวณภาระการทำความเย็น แต่ไม่เหมาะกับการนำไปเลือกอุปกรณ์ที่มีสมรรถนะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิกระเปาะเปียก เช่น หอระบายความร้อน
1.1 ต้องจัดให้มีการกรองอากาศที่หมุนเวียนในระบบปรับอากาศ เพื่อสุขอนามัยของผู้ใช้อาคาร
1.2 เครื่องส่งลมเย็นที่มีอัตราการส่งลมตั้งแต่ 1,000 ลิตรต่อวินาที ต้องจัดให้มีแผงกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพอย่างน้อย MERV 7 ตามมาตรฐาน ASHRAE Standard 52.2 หรือ 25-30 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรฐาน ASHRAE Standard 52.1 Dust Sport หรือมาตรฐานอื่นที่มีความน่าเชื่อถือเทียบเท่า
1.3 ต้องจัดตำแหน่งของแผงกรองอากาศให้กรองอากาศก่อนผ่านคอยล์ทำความเย็นในกรณีที่มีแผงกรองอากาศหลายชั้น ต้องจัดให้มีแผงกรองอากาศอย่างน้อยหนึ่งชั้นกรองอากาศก่อนผ่านคอลย์ทำความเย็น
2.1 ระบบปรับอากาศ ต้องจัดให้มีการเติมอากาศจากภายนอก โดยวิธีการเติมอากาศเข้ามาจาก ภายนอกหรือการระบายอากาศจากภายในทิ้ง
2.2 อัตราการเติมอากาศจากภายนอกต้องมีอัตราไม่น้อยกว่าที่กำหนดในมาตรฐานการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยอมรับได้ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มาตรฐาน ว.ส.ท. 3010)
มาตรฐานนี้ใช้สำหรับการระบายอากาศของพื้นที่ภายในอาคารที่มีคนใช้งาน (Human Occupancy)
2.1 เพื่อควบคุมและปรับปรุงคุณภาพอากาศและระบายอากาศและระบายอากาศในอาคารให้ถูกต้องและตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
2.2 เพื่อกำหนดให้ทุกพื้นที่ในอาคารต้องจัดให้มีการระบายอากาศโดยวิธีกลสามารถระบายอากาศตามอัตราที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่องระหว่างที่มีการใช้งานอาคาร
2.3 เพื่อให้ระบบระบายอากาศโดยวิธีกลสามารถระบายอากาศตามอัตราที่ต้องการได้อย่างต่อเนื่องระหว่างที่มีการใช้งานอาคาร
2.4 เพื่อควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น และความสามารถของอากาศ ของพื้นที่ปรับอากาศให้มีความเหมาะสมต่อสภาพใช้งาน
2.5 เพื่อป้องกันอันตรายจากการแพร่กระจายของสารระเหยหรือวัสดุที่มีอันตราย
2.6 เพื่อเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำของการออกแบบ การก่อสร้าง การติดตั้ง การดำเนินการ การทดสอบระบบระบายอากาศ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
3.1 อัตราการระบายอากาศของอาคาร ต้องมีอัตราไม่น้อยกว่าที่กำหนดในมาตรฐานการระบายอากาศ เพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยอมรับได้ ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มาตรฐาน ว.ส.ท.3010)
3.2 พื้นที่ใช้เพื่อกิจการโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Occupancies) ต้องจัดให้มีการระบายอากาศทั่วไป (General Ventilation) เพื่อทดแทนอากาศที่มีสิ่งปนเปื้อนโดยวิธีธรรมชาติที่มีกระแสลมไหลผ่าน หรือ จัดให้มีการะบายอากาศด้วยวิธีกล
3.3 อากาศที่มีสิ่งปนเปื้อนต้องได้รับการทำความสะอาดก่อนที่จะนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่
3.4 ต้องจัดให้มีระบบระบายอากาศเฉพาะที่ (Local Exhaust System) เพื่อกำจัดความชื้น กลิ่น ควัน ก๊าซ ละอองน้ำ ความร้อน ฝุ่น หรือสารอื่น ที่มีปริมาณมากจนก่อให้เกิดการระคายเคือง หรือการเจ็บป่วยกับผู้ใช้อาคารและโรงงาน
3.5 สารอันตราย เช่น สารพิษ สารกัดกร่อน สารที่เป็นกรด หรือ สารร้อน ซึ่งเกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรม ต้องถูกดูดจับ (Capture) และระบายทิ้งสู่ภายนอกอาคารโรงงาน
3.6 สารอันตราย ต้องถูกจำกัดให้อยู่ในพื้นที่ที่กำเนิดขึ้นโดยวิธีรักษาความดันในบริเวณดังกล่าวให้มีความดันต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และวิธีการปิดล้อมบริเวณดังกล่าวไม่ให้มีอากาศรั่วไหล จนกว่าสารอันตรายจะถูกระบายออกไปภายนอกอาคารและโรงงาน
3.7 อากาศที่มีสารอันตราย ต้องได้รับการบำบัดให้มีคุณภาพตามกฎหมายก่อนทิ้งออกสู่ภายนอกอาคารและโรงงาน
3.8 พื้นที่สำหรับใช้เพื่อเก็บของ (Storage Occupancies) ต้องจัดให้มีการระบายอากาศด้วยวิธีกลโดยมีอัตราไม่น้อยกว่า 2 เท่าของปริมาตรห้องต่อชั่วโมง ในขณะที่มีคนใช้งาน หรือมีช่องเปิดออกสู่ภายนอกไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ห้อง
3.9 ตำแหน่งช่องนำอากาศเข้าโดยวิธีกล ต้องห่างจากที่เกิดอากาศเสีย และช่องระบายอากาศทิ้งไม่น้อยกว่า 5.00 เมตร และอยู่สูงไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
ต้องจัดให้มีการระบายอากาศที่จอดรถภายในอาคารด้วยวิธีธรรมชาติหรือวิธีกลดังต่อไปนี้
4.1 การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ
4.1.1 การระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติให้ใช้เฉพาะกับที่จอดรถที่มีผนังด้านนอกมีช่องเปิดสู่ภายนอกซึ่งกระจายอย่างสม่ำเสมอบนผนังอย่างน้อยสองด้าน พื้นที่ช่องเปิดสู่ภายนอกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ผนังด้านนั้นๆ และพื้นที่ช่องเปิดรวมทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่อาคารที่จอดรถ ความยาววัดตามแนวนอนของช่องเปิดที่ใช้เพื่อการระบายอากาศนี้ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของความยาวผนังด้านนั้น ๆ
4.1.2 พื้นที่ที่อยู่ห่างจากช่องเปิดสู่ภายนอกอาคารเกิน 30 เมตร ต้องจัดให้มีการระบายอากาศด้วยวิธีกล
4.2 การระบายอากาศด้วยวิธีกล
4.2.1 การระบายอากาศด้วยวิธีกลให้ใช้กับที่จอดรถลักษณะใดก็ได้ โดยจัดให้มีกลอุปกรณ์ขับเคลื่อนอากาศ ซึ่งต้องทำงานตลอดเวลาระหว่างที่ใช้สอยที่จอดรถนั้น เพื่อให้เกิดการนำอากาศภายนอกเข้ามาด้วยอัตราไม่น้อยกว่าที่กำหนดในมาตรฐานการระบายอากาศเพื่อคุณภาพอากาศภายในอาคารที่ยอมรับได้ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มาตรฐาน ว.ส.ท.3010)
4.2.2 ภายในที่จอดรถต้องมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ไม่เกิน 35 ส่วนในล้านส่วนของอากาศ (ppm) นานต่อเนื่องเกินหนึ่งชั่วโมง และต้องไม่เกิน 120 ส่วนในล้านส่วนของอากาศ (ppm) ไม่ว่าเวลาใดๆ โดยตรวจวัดที่ระดับความสูงจากพื้น 0.90 ถึง 1.20 เมตร
4.2.3 ในกรณีที่ต้องการปรับลดอัตราการระบายอากาศระหว่างการใช้สอยที่จอดรถ สามารถปรับลดอัตราการระบายอากาศให้ต่ำกว่าได้ ถ้าหากมีระบบควบคุมให้ภายในที่จอดรถมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซค์ไม่เกินกว่าที่กำหนด และมีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียล โดยจัดให้มีอุปกรณ์ตรวจวัดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซค์และอุณหภูมิติดตั้งกระจายอย่างสม่ำเสมอ และมีพื้นที่ตรวจสอบไม่เกิน 1,000 ตารางเมตรต่ออุปกรณ์ตรวจวัดหนึ่งเครื่อง
4.2.4 ต้องออกแบบช่องทางลมเข้าให้นำอากาศเข้ามาจากบริเวณที่ไม่มีสารหรือก๊าซอันตราย
4.2.5 ไม่ควรใช้ทางเข้าหรือทางออกของรถเป็นช่องทางลมเข้าหลัก
การออกแบบวางระบบแอร์โรงงาน แอร์ห้องประชุม หรือแอร์ในอาคารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องดูแลโดยมืออาชีพเฉพาะทาง ซึ่งจะแตกต่างจากการติดตั้งแอร์ตามบ้านเรือนหรืออาคารขนาดเล็กทั่วไป เนื่องจากต้องมีความเชี่ยวชาญในการวางแผนและคำนวณอย่างเหมาะสม ตั้งแต่เรื่องการประเมินค่าสภาวะอากาศภายนอก การเลือกจุดติดตั้ง การคำนวณค่าความเย็นของแอร์ ขนาดแอร์ อุณหภูมิหมุนเวียนภายในอาคารและระบบปรับอากาศ เพื่อสร้างความปลอดภัยด้านสุขอนามัยให้กับผู้คนจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่นั้น อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพการทำงานและการประหยัดพลังของระบบแอร์ควบคู่กันไปด้วย ซึ่ง RVS Intergroup คือคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
กำลังมีแผนติดตั้งระบบปรับอากาศในอาคารขนาดใหญ่? ทำแอร์ห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง แอร์โรงงาน? ไม่ว่าคุณจะอยู่พื้นที่จังหวัดใด ก็เลือกให้ RVS Intergroup ดูแลคุณได้เสมอ! เรายินดีให้บริการครบวงจรทั่วไทย โดยทีมช่างของบริษัทที่ผ่านการฝึกอบรมตามมาตรฐานของผู้ผลิต ควบคุมทุกงานโดยวิศวกรวิชาชีพ จึงมั่นใจได้เลยว่าผลงานของเราจะมีคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด พร้อมการให้บริการอันรวดเร็ว และราคายุติธรรม
90 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40/1 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700