previous arrow
next arrow
Slider

ท่อลม (ท่อดักท์แอร์)

ความรู้เบื้องต้นของโครงสร้างพื้นฐานระบบท่อดักท์แอร์

1. การออกแบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลมเย็น)

ระบบท่อดักท์แอร์ หรือ ท่อส่งลมเย็น เป็นระบบที่สร้างจากส่วนประกอบต่าง ๆ ของท่อดักท์แอร์ ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงอากาศจากจุดหนึ่ง ไปยังจุดต่าง ๆ ในอาคาร โดยสามารถลำเลียงอากาศในทิศทางเดียวหรือหลายทิศทางได้ ซึ่งแอร์ท่อดักท์ หรือแอร์ท่อลม เป็นที่นิยมติดตั้งภายในอาคารสถานทีที่มีบริเวณค่อนข้างกว้าง เช่น การติดตั้งระบบท่อแอร์ในห้าง, แอร์สำนักงาน, โรงแรม, แอร์โรงงาน เป็นต้น

การออกแบบระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ที่ดี จะต้องคำนึงถึงหลักการวิศวกรรมทั้งด้านวิชาการและด้านปฏิบัติ สามารถติดตั้งได้จริง เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) นั้น มีวิธีการออกแบบการเลือกขนาด วิธีการติดตั้ง รวมทั้งลักษณะโครงสร้างของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) อยู่หลายประเภท การออกแบบและเลือกใช้ระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) จึงต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งยังต้องเหมาะสมกับการใช้งานด้วย

นอกเหนือจากชนิด การเลือกขนาด และการออกแบบระบบท่อส่งลมเย็นแล้ว การออกแบบจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ ความดันอากาศ (Pressure) และความเร็วอากาศในท่อลม (Air Velocity) ความดันอากาศมีผลกระทบโดยตรงต่อโครงสร้างชนิดและความแข็งแรงของท่อส่งลม การรั่วไหลของอากาศและการบิดตัว ในขณะที่ความเร็วลมจะส่งผลกระทบต่อระดับความดังของเสียงในท่อลม การสั่นสะเทือนและความเสียดทาน (friction loss) ของอากาศในท่อส่งลม

การกำหนดมาตรฐานของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) นั้นสามารถรับความดันได้ในระดับเท่าไร ไม่ว่าจะเป็น ทั้งระบบ หรือการกำหนดเฉพาะเพียงบางส่วน หากจะกำหนดว่าระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) จะต้องสามารถทนความดันเท่ากับความดันของลมที่ออกมาจากพัดลม จะเป็นการกำหนดระดับความดันท่อส่งที่เกินความจำเป็น ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าความดันลมนั้นจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามระยะทางของท่อลม และความดันลมที่หัวจ่ายมักจะน้อยกว่า 1/2 นิ้วของน้ำ หรือ 125 ปาสคอล (Pa)

S 6873091

2. คุณสมบัติโดยทั่วไปของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลมเย็น)

เพื่อให้ระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) สามารถทำงานตามที่ได้กำหนดไว้ ส่วนประกอบของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดประสิทธิภาพพื้นฐานสำหรับการติดตั้งแอร์ ส่วนประกอบหลัก ๆ ของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ได้แก่ แผ่นโลหะ, โครงสร้างเสริม, ตะเข็บ และรอยต่อของตะเข็บการกำหนดขอบเขตและค่าต่าง ๆ ของส่วนประกอบ จะต้องคำนึงถึงหลักวิศวกรรม และหลักทางปฏิบัติให้ถูกต้องโดยมีข้อกำหนดสำคัญดังนี้

  1. ความคงตัวของขนาด (รูปร่าง การบิดตัว และความแข็งแรง)
  2. ความสามารถในการดักเก็บอากาศ (ควบคุมการรั่วไหลของลม)
  3. ความสั่นสะเทือน (ความล้าของวัสดุ และรูปร่าง)
  4. เสียงรบกวน (การกำเนิดเสียง การส่งถ่ายเสียง และการลดทอนเสียง)
  5. ความทนทานต่อสภาวะแวดล้อม
  6. การจับยึด รองรับ (แนวและตำแหน่ง)
  7. ความทนแทนต่อการเกิดแผ่นดินไหว
  8. สภาพนำความร้อน

ในการกำหนดขอบเขตและค่าต่าง ๆ ของส่วนประกอบในระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) การออกแบบจะต้องคำนึงถึงผลกระทบจากความดันตกคร่อมระหว่างผนังท่อลม ความดันลด (friction drop) ของอากาศในท่อลม ความเร็วลม การรั่วไหลเข้า/ออกของอากาศ รวมไปถึงความแข็งแรงและภาพลักษณ์โดยรวมของระบบและส่วนประกอบ

ในการกำหนดวิธีการสร้าง การประกอบระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ยังจะต้องคำนึงถึงวิธีการที่เหมาะสมในการสร้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ที่ทำงานตามที่ต้องการวิธีการต่าง ๆ นั้นจะต้องถูกตรวจสอบและระบุให้ชัดเจนในข้อกำหนดของการสร้างระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม)

3. การกำหนดระดับชั้นของความดันและความเร็วลม

สำหรับการกำหนดระดับชั้นและให้ใช้ตารางอ้างอิงที่ 1-1 สำหรับการกำหนดค่าความดันสถิตที่แน่นอนสำหรับแต่ละระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลมเย็น)

ตารางที่ 1-1 แสดงการจำแนกท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ตามความดันและความเร็วลม

ระดับความเร็วลม2000
(ฟุตต่อนาที)
2500
(ฟุตต่อนาที)
4000
(ฟุตต่อนาที)
ระดับชั้นของความดันสถิต
(นิ้วของน้ำ)
+1/2-1/2+1-1+2-2+3-3+4
ท่อเหลี่ยมAASTDSTDSTVSTVAAA
ท่อกลมAASTDSTDSTVSTVAAA
ท่อวงรีA STD STV A A
ท่อยืดหยุ่นAASTDSTDSTV A A

หมายเหตุ ตารางที่ 1-1

  1. “STD” หมายถึง มาตรฐานของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ทั่วไป ที่ผู้ออกแบบไม่ได้ระบุระดับชั้นของแรงดันในระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม), ประเภทปริมาณลมคงที่

    “STV” หมายถึง มาตรฐานของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ทั่วไป ที่ผู้ออกแบบไม่ได้ระบุระดับชั้นของแรงดันในระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม), ประเภทปริมาณลมไม่คงที่

  2. “A” หมายถึง ระดับแรงดันที่กำหนดได้สำหรับท่อลมประเภทต่างๆ
  3. โปรด ดูข้อ 1.6 (10) สำหรับการอุดรอยรั่วท่อส่งลม
  4. ระดับความดันที่กำหนดในตารางที่ 1-1 ระบุถึงโครงสร้างที่เหมาะสมสำหรับความดันสูงสุดที่ไม่ต่ำกว่าระดับความดันใช้งานสูงสุด (Operating, Pressure)
  5. การเลือกระดับความดันของท่อลมโดยผู้ออกแบบนั้น เป็นการกำหนดค่าที่รับได้ในการใช้งานจริง ซึ่งการใช้งานจริงอาจจะมีเหตุการณ์ที่ความดันสูงหรือต่ำกว่าค่าที่ระบุได้ในช่วงของการใช้งานบางช่วง
  6. การระบุค่าระดับความดันนั้นเป็นการกำหนดค่าไว้ให้กับท่อลม และข่อต่อต่างๆ ไม่รวมค่าอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศอื่นๆ ซึ่งจะต้องแยกระบุในข้อกำหนดอื่นๆ
  7. เครื่องหมาย + คือ Positive Pressure
  8. เครื่องหมาย – คือ Negative Pressure

ตารางที่ 1-2 ช่วงความดันใช้งาน

ความดันสถิต (Static Pressure)
ระดับความดัน (นิ้วของน้ำ)ช่วงความดันใช้งาน (นิ้วของน้ำ)
1/2”ไม่เกิน 1/2”
1”มากกว่า 1/2” ถึง 1”
2”มากกว่า 1” ถึง 2”
3”มากกว่า 2” ถึง 3”
4”มากกว่า 3” ถึง 4”
6”มากกว่า 4” ถึง 6”
10”มากกว่า 6” ถึง 10”

ข้อควรระวัง

  1. โครงสร้างของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ที่ระบุไว้ในคู่มือฉบับนี้มิได้คำนึงถึงข้อผิดพลาดที่จะเกิดจากการพังทลายของโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน อย่างไงก็ตามการป้องกันการใช้ความดันเกิน ข้อกำหนดที่สามารถกระทำได้ โดยการติดอุปกรณ์เพิ่มเติมเช่น ตัวปล่อยแรงดันเกิน แผ่นกั้นความดันเกิน ระบบควบคุมต่างๆ และอื่นๆ
  2. การทดสอบความดันของระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) จะต้องใช้แรงดันไม่เกิน 125% ของแรงดันที่กำหนดไว้ และหากมีการใช้แรงดันเกินที่ระบุไว้อาจะเกิดอันตรายได้
  3. ความดันที่ใช้ในการทดสอบรอยรั่ว จะต้องไม่เกินระดับความดันที่กำหนดของท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม)
  4. การเปลี่ยนแปลงความดันระหว่างการเปิดหรือปิดระบบ จะทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ในการติดตั้งระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) หากต้องการลดการเกิดเสียงเหล่านี้ ผู้ออกแบบจะต้องพิจารณาถึงการใช้อุปกรณ์ค้ำยันที่ถี่ขึ้นหรือโครงสร้างที่แน่นหนาขึ้น หรือการควบคุมด้วยวิธีอื่นๆ

4. ขอบเขตของมาตรฐานโครงสร้างระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลมเย็น)

โครงสร้างระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ใช้สำหรับการระบายอากาศ การจ่ายลมร้อน ลมเย็น และระบบปรับอากาศทั่วไป และอาจนำไปใช้กับระบบดูดอากาศเสีย แต่ไม่ได้รวมถึงระบบที่มีการนำพาอนุภาคควันที่มีการกัดกร่อนไอของสารที่สามารถติดไฟได้ หรือระบบที่ใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม แต่ในบางกรณีสามารถที่จะนำไปใช้ได้

5. การเสริมความแข็งแรง

ส่วนประกอบพื้นฐานของท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลมเย็น) ได้แก่ ผนังท่อ ข้อต่อ ตัวเสริมความแข็งแรงที่ข้อต่อ หรือระหว่างข้อต่อกับตัวยึด ซึ่งส่วนประกอบดังกล่าวจะถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทของความดันและขนาดของตัวท่อลม สำหรับประเภทของความดันระดับหนึ่งๆ การออกแบบจะต้องเลือกผนังท่อรวมทั้งข้อต่อและตัวเสริมความแข็งแรงมีความสามารถที่จะทนต่อสภาวะความดันนั้นๆ ได้ การนำส่วนประกอบที่ใช้ทำท่อลมที่ใช้ในระบบที่มีความดันสูงกว่ามาใช้ในระบบที่มีความดันน้อยกว่า หรือท่อลมที่มีขนาดใหญ่กว่ามาใช้กับท่อลมที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมสามารถจะทำได้

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้วัสดุต่ำกว่ามาตรฐานต่ำสุดไม่สามารถนำมาเป็นข้ออ้าง ให้ใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบที่มีข้อกำหนดต่ำกว่า หรือแย่กว่ามาตรฐานได้ ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้ตัวเสริมความแข็งแรงที่แข็งแรงขึ้นมิได้หมายความว่า จะสามารถลดระยะห่างระหว่างตัวเสริมความแข็งแรงลงได้ ความต้องการขั้นต่ำสุดของส่วนประกอบแต่ละชิ้นยังคงเหมือนเดิมสำหรับความกว้างของท่อหนึ่ง ๆ

การผลิตหรือการติดตั้งจะต้องเลือกคุณสมบัติข้อต่อ ตะเข็บ ตัวเสริมความแข็งแรงและตัวยึดที่จะใช้ประกอบขึ้นเป็นท่อลม เพื่อให้ใช้งานภายใต้คุณลักษณะของท่อที่ได้ระบุไว้ การออกแบบจำเป็นจะต้องกำหนดมาตรฐานให้เหมาะสมกับแต่ละงานภายใต้ข้อจำกัดนั้น ๆ

ประสบการณ์ในการสร้างระบบท่อดักท์ (ท่อส่งลมเย็น) นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างๆ ไม่มีหนังสือหรือตำราคู่มือใด ๆ ที่จะสามารถอธิบายถึงรายละเอียดของการออกแบบเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งได้ การเลือกอุปกรณ์อย่างไม่ใส่ใจและการทำงานที่ขาดฝีมือที่ดี ลดคุณภาพของงานที่สร้างขึ้น อย่างไรก็ดีการที่ผู้รับเหมาติดตั้งจะต้องรับผิดชอบกับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีนั้น มิได้หมายถึงการที่ผู้รับเหมาจะต้องรับผิดชอบแทนผู้ออกแบบที่ขาดการเอาใจใส่ในการออกแบบด้วย

6. มาตรฐานการสร้างและการติดตั้งระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลมเย็น)

  1. ข้อกำหนดโดยทั่วไป
  2. มาตรฐานและรูปประกอบการสร้างและการติดตั้งระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) นี้ประกอบด้วย
  3. มาตรฐานมิได้จำกัดในการเลือกใช้ การสร้าง และการติดตั้งระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) อื่นๆ, ที่มิได้ระบุไว้ในมาตรฐานนี้ หากผู้ทำการออกแบบติดตั้งได้แสดงให้เห็นว่า วิธีการนั้นๆ มีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือดีกว่าที่มาตรฐานได้กำหนดไว้ โดยจะต้องได้รับการอนุมัติและยอมรับจากผู้มีอำนาจในการเลือกใช้
  4. มาตรฐานและข้อกำหนดนี้ จะถือว่าผู้ออกแบบได้เตรียมแบบแปลนแสดงถึงขนาดและตำแหน่งของท่อลมรวม ทั้งแบบข้อต่อที่อนุญาตใช้ได้ โดยอุปกรณ์ข้อต่อดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานนี้ ยกเว้นแต่ว่าได้ระบุไว้ในแบบ หรือโดยข้อกำหนดของผู้ผลิต
  5. ท่อส่งลมจะต้องสร้างขึ้นให้เหมาะสมกับประเภทของความดันที่ใช้งาน ตามที่แสดงไว้ในแบบของแต่ละโครงการ หากผู้ออกแบบมิได้กำหนดให้ใช้ค่าความดันที่ 1 นิ้วของน้ำ (in.w.g.) เป็นมาตรฐาน โดยไม่ต้องคำนึงถึงความเร็วลมภายในท่อส่งลม ยกเว้นท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ใช้กับระบบที่มีอัตราการไหลของลมไม่สม่ำเสมอ และติดตั้งอยู่ด้านทางเข้าของกล่องปรับปริมาณลมอัตโนมัติ (VAV) ให้ใช้ค่าความดันที่ 2 นิ้วของน้ำ
  6. รายละเอียดในเอกสารนี้ไม่กำหนดว่าจะต้องติดตั้งใบปรับปริมาณลม ลิ้นกันไฟ ลิ้นกันควัน ที่มิได้กำหนดไว้ในแบบ
  7. ในกรณีที่ ขนาด การประกอบชิ้นส่วนท่อ และระบบการจับยึด มิได้กำหนดไว้ในที่นี้ ผู้รับเหมาจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน
  8. ผู้รับเหมาจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนะของผู้ผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของงาน
  9. เหล็กชุบสังกะสีที่ใช้ในงานท่อลม และข้อต่อจะต้องเป็นชนิด G-60 ตามมาตรฐาน ASTM A653 และ A924 yield strength ต่ำสุดคือ 30,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (207 kPa) เว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
    1. ในกรณีที่มีการอุดรอยรั่วในงานติดตั้งระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) หรือที่ระบุไว้ในภาพแสดงการติดตั้ง นั้นหมายถึง1.) การใช้กาว ประเก็น เทปหรือการใช้กาว ประเก็น เทปเข้าด้วยกันหรือการเชื่อมปิด เพื่อใช้ในการอุดช่องเปิดต่างๆ ที่ผิดงานของระบบท่อส่งลมที่มีการรั่วไหลของลม
      2.) ผู้ติดตั้งจะต้องเลือกชนิดของวัสดุและวิธีการอุดรอยรั่วที่เหมาะสมกับสภาวะการใช้งานโดยจะต้องคำนึงแรงดันและความเร็วของลมในระบบท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) การเข้ากันได้ทางเคมี การขยับตัวของชิ้นส่วนต่างๆ ชนิดของพื้นผิว ความสามารถในการยึดติด อายุการเก็บรักษาเพื่อใช้งาน ระยะเวลาการแห้งตัว และข้อจำกัดของวัสดุอุดรอยรั่ว
      3.) การอุดรอยรั่วของระบบท่อส่งลมที่ต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ แต่ไม่รวมถึงการอุดรอยรั่วของอุปกรณ์
      4.) ข้อแตกต่างของตะเข็บ (Seam) กับรอยต่อ (Joint) คือตะเข็บหมายถึงรอยต่อของผนังท่อลมตามแนวทางของทิศทางการไหลของลม รอยต่อของท่อลมแบบเกลียว Helical, Spiral ให้ถือเป็นตะเข็บที่ไม่ต้องอุดรอยรั่วและรอยต่อของท่อลมชนิดอื่นๆ ให้ถือเป็น รอยต่อ (Joint) ซึ่งรวมไปถึงข้อต่อต่างๆ ทางแยกลม คอ ท่อลด บ่าท่อลม ช่องเปิดทำงานกรอบและส่วนของอาคารที่ทำหน้าที่เป็นท่อลมหรือส่วนของท่อลม
      5.) ข้อกำหนดของสารอุดรอยรั่วมิได้รวมถึง
      1. ความต้านทานการกัดกร่อนของสารเคมี
      2. เป็นฉนวนทางไฟฟ้า
      3. กันน้ำ ทนทานต่อสภาพอากาศและรังสีอุลตราไวโอเลท (UV)
      4. ทนอุณหภูมิสูงกว่า 120OF (48 OC) และต่ำกว่า 40OF (4.4 OC)
      5. มีการป้องกันแผ่สารกัมมันตภาพรังสิตหรือใช้เพื่อสร้างความปลอดภัยให้อาคาร
      6. เป็นสายดินทางไฟฟ้า (Ground)
      7. สามารถอุดรอยรั่วที่แรงดันสูงกว่าระดับชั้นของท่อลมได้
      8. ใช้งานใต้ผิดดินใต้ระดับน้ำ
      9. จมในของเหลว
      10. ทนการสั่นสะเทือนที่เห็นได้ชัด
      11. ปราศจากรอยรั่วในสภาพแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนสูง
      12. ใช้ในการอุดรอยรั่วของอาคารส่วนของอาคารที่ทำหน้าที่เป็นท่อลมหรือส่วนของท่อลม
      6.) ใช้ได้ทั้งความดันบวกและความดันลบ
      7.) ท่อดักท์แอร์ (ท่อส่งลม) ที่จะต้องหุ้มฉนวนและติดตั้งอยู่ภายนอกอาคาร จะต้องทำการอุดรอยรั่วก่อนที่จะหุ้มฉนวนท่อลมที่ติดตั้งภายนอกอาคาร และมิได้ทำการหุ้มฉนวน หากมีการรั่วของอากาศจะต้องทำการอุดรอยรั่วด้วยสารอุดรอยรั่วที่ใช้สำหรับภายนอกอาคารโดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติยึดติดได้ดีกับโลหะและยืดหยุ่นได้ ทนอุณหภูมิ -30OF (-34 OC) ถึง 175OF (79 OC) หากต้องถูกับแสงอาทิตย์โดยตรงควรจะทนต่อรังสีอุลตร้าไวโอเลตและโอโซน หรือเคลือบด้วยมีที่มีคุณสมบัติดังกล่าว สารอุดรอยรั่วในที่นี้มิได้หมายถึงแต่เพียงสารยึดติด (adhesive) เท่านั้น แต่ยังหมายถึงเทปกาว และแถบผ้าที่มีสารยึดติดด้วย

7. มาตรฐานการต่อท่อสี่เหลี่ยม

ท่อลมสี่เหลี่ยมที่ใช้ส่งลม อาจรับภาระอันเนื่องจากความดันสถิตภายในท่อ และการสั่นสะเทือนจากความปั่นป่วนของอากาศ ดังนั้นการสร้างท่อลมต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายประการเช่น ลักษณะการสร้างท่อลม ความต้องการในการซีลแนวท่อลม ชนิดของวัสดุทั้งตัวท่อและการจับยึดหรือแขวน เป็นต้น

ลักษณะของท่อลมชนิดสี่เหลี่ยมต้องสร้างให้มีความแข็งแรงพอที่จะต้านทานภาระของอากาศภายในได้ ท่อลมในการสร้างท่อลมต้องตัดแผ่นโลหะให้ได้ขนาดที่ต้องการ แล้วจึงพับและประกอบเป็นท่อโดยยึดด้วยตะเข็บ และข้อต่ออาจเสริมให้แข็งแรงตามความเหมาะสม

ติดต่อเราสอบถาม

RVS INTERGROUP CO., LTD.

90 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40/1 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700